“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมาเผชิญแรงขายเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 5 ปีที่ 34.54 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงแรกสอดคล้องกับสกุลเงินเอเชียในภาพรวม ขณะที่เงินดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นตามการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐ ก่อนการประชุมเฟด อย่างไรก็ดีเงินบาทพลิกแข็งค่าช่วงสั้นๆ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ เพื่อทำกำไรหลังผลการประชุมเฟด แม้เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ไปที่กรอบ 0.75-1.00% ตามคาด แต่ก็ส่งสัญญาณไม่เร่งจังหวะการขึ้นดอกเบี้ยเพราะคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจสหรัฐ
อย่างไรก็ดี เงินบาทอ่อนค่ากลับมาอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์ตามแรงขายสุทธิพันธบัตรไทยของต่างชาติ และตลาดบางส่วนกลับมาประเมินว่า เฟดอาจต้องเร่งคุมเข้มดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. เพื่อสกัดเงินเฟ้อสหรัฐ ทั้งนี้ในวันศุกร์ (6 พ.ค.) เงินบาทปิดตลาดที่ 34.35 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 34.25 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (29 เม.ย.) ขณะที่ระหว่างวันที่ 2-6 พ.ค. นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 2,543.2 ล้านบาท และมีสถานะเป็น NET OUTFLOW ออกจากตลาดพันธบัตร 6,971.2 ล้านบาท (มาจากการขายสุทธิพันธบัตร 6,940.3 ล้านบาท และมีตราสารหนี้หมดอายุ 30.9 ล้านบาท)
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (9-13 พ.ค.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ระดับ 33.80-34.80 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด สถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย และทิศทางเงินทุนต่างชาติ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาการนำเข้า/ส่งออกเดือน เม.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. (เบื้องต้น) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามข้อมูลเศรษฐกิจเดือน เม.ย. ของจีน อาทิ การส่งออก ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต และยอดปล่อยกู้ใหม่สกุลเงินหยวนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง