เมื่อวานนี้ (5 พ.ย.) กระทรวงกลาโหมรัสเซียเปิดเผยว่า เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ลำใหม่ของรัสเซียที่ชื่อว่า “อิมเพอเรเตอร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3” (Imperator Alexander III) ประสบความสำเร็จในการทดสอบการยิงขีปนาวุธ “บูลาวา” (Bulava) ซึ่งออกแบบมาให้บรรทุกหัวรบนิวเคลียร์ได้
“การทดสอบยิงขีปนาวุธครั้งนี้เป็นองค์ประกอบสุดท้ายของการทดสอบ หลังจากนั้นจะมีการตัดสินใจนำเรือดำน้ำลำดังกล่าวเข้าประจำการในกองทัพเรือ” กระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุ
อิสราเอลตัดขาดฉนวนกาซา แบ่งเป็น 2 ส่วน เตรียมถล่มฮามาสในกาซาเหนือ
รมว.กลาโหมอิสราเอล ย้ำเป้าหมายสังหารผู้นำฮามาสในกาซา
กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา ยึดที่มั่นได้ต่อเนื่อง
ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน กดดันและเร่งรัดให้รัสเซียเพิ่มมาตรการป้องปรามด้วยนิวเคลียร์ เพื่อตอบโต้สิ่งที่เขาเรียกว่าเป็น “ภัยคุกคามด้านความปลอดภัย” ที่เพิ่มมากขึ้น จากความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและตะวันตกที่ตกต่ำที่สุดจากการบุกยูเครนในปี 2022
สำหนับขีปนาวุธข้ามทวีปบูลาวาถูกยิงจากตำแหน่งใต้น้ำในทะเลขาว (White Sea) นอกชายฝั่งทางตอนเหนือของรัสเซีย โจมตีเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไปหลายพันกิโลเมตรบนคาบสมุทรคัมชัตกา ทางตะวันออกไกลของรัสเซีย
นอกจากอิมเพอเรเตอร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แล้ว รัสเซียยังมีเรือดำน้ำติดขีปนาวุธชั้นโบเร (Borei) ที่สามารถติดตั้งขีปนาวุธบูลาวา 16 ลูกและอาวุธตอร์ปิโดสมัยใหม่
กองทัพเรือมีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ชั้นโบเรจำนวน 3 ลำเข้าประจำการ และมีลำหนึ่งกำลังเสร็จสิ้นการทดสอบ รวมถึงมีอีก 3 ลำอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ในส่วนของขีปนาวุธบูลาวานั้น มีความยาว 12 เมตร มีพิสัยทำการประมาณ 8,000 กิโลเมตร และสามารถบรรทุกหัวรบนิวเคลียร์ได้มากถึง 6 ลูก ถือเป็นหนึ่งในขุมกำลังหลักด้านอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซีย
การทดสอบขีปนาวุธบูลาวาเกิดขึ้นเพียงไม่ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากเมื่อช่วงปลายเดือน ต.ค. รัสเซียได้ดำเนินการฝึกซ้อมรบครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นการจำลองการตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามด้วยการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ก่อนที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ได้ลงนามร่างกฎหมายเพิกถอนการให้สัตยาบันของรัสเซียต่อสนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์
ขณะที่เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ ไลเอิน ได้เดินทางเยือนกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน เพื่อหารือกับประธานาธิบดี โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี เกี่ยวกับการรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียู
การเดินทางเยือนยูเครนของ ฟอน เดอร์ ไลเอิน เกิดขึ้นก่อนที่สหภาพยุโรปจะทำการประกาศรายละเอียดความคืบหน้าของรัฐบาลยูเครนในการดำเนินตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องทำให้สำเร็จเพื่อเข้าเป็นสมาชิกอียู ก่อนที่กระบวนการเจรจาอย่างเป็นทางการจะเริ่มต้นขึ้นได้ตามแผนในเดือนธันวาคม
โดยประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้ชื่นชมความพยายามของรัฐบาลยูเครนในการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ของการเข้าเป็นสมาชิกอียู ซึ่งยูเครนยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกไม่กี่วันหลังรัสเซียทำการรุกรานอย่างเต็มรูปแบบเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่แล้ว
ขณะที่ ประธานาธิบดีเซเลนสกีปฏิเสธที่จะให้ความเห็นว่า ภาวะสงครามยูเครน-รัสเซียได้มาถึงทางตันแล้วหรือไม่ แต่ย้ำว่ายูเครนต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากชาติพันธมิตรเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบป้องกันการโจมตีทางอากาศเพื่อสนับสนุนการต่อสู้กับรัสเซียที่ยืดเยื้อเข้าสู่เดือนที่ 21 แล้ว
เรียบเรียงจาก Reuters
ภาพจาก Reuters
"เศรษฐา" สั่ง "ปานปรีย์" ศึกษาความเหมาะสม ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ
เรอัล มาดริด แถลงการณ์โต้ข่าวลือดีล "เอ็มบัปเป้"
“ต้องเต” หวังรัฐจริงจังผลักดันภาพยนตร์ไทย รองเลขาฯ นายกแจง ไม่คิดเคลมความสำเร็จ “สัปเหร่อ” คำพูดจาก เกมสล็อตเว็บแท้