นักดาราศาสตร์รายงานการค้นพบ “ดาวเคราะห์ที่ไม่น่าจะมีตัวตนอยู่ได้” เนื่องจากอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์มาก แต่กลับไม่ถูกกลืนกินเข้าไป
ดาวเคราะห์ดังกล่าวเป็นดาวแก๊สยักษ์ (Gas giant) คล้ายดาวพฤหัสบดี มีชื่อทางการว่า 8 UMi b ส่วนชื่อเล่นง่าย ๆ ที่ใช้เรียกกันคือ “ฮัลลา” (Halla) ซึ่งนักดาราศาสตร์ชาวเกาหลีใต้ผู้ค้นพบตั้งตามชื่อภูเขาฮัลลาซาน ภูเขาที่สูงที่สุดในเกาหลีใต้ที่เชื่อกันว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์
ดาวเคราะห์ฮัลลาอยู่ห่างจากโลกประมาณ 520 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวหมีเล็ก มันโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ที่ชื่อว่า “เพ็กตู” ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเรา
ฮัลลาโคจรรอบเพ็กตูที่ระยะห่างประมาณครึ่งหนึ่งระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ คือราว 0.46 AU หรือ (68.8 ล้านกิโลเมตร) โดยมันถูกจัดให้เป็น “ดาวพฤหัสบดีร้อน” ซึ่งเป็นการจัดประเภทดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดีแต่มีอุณหภูมิสูงกว่า โดยพิจารณาจากระยะห่างการโคจรรอบดาวฤกษ์ว่าใกล้ชิดเพียงใด
“เวอร์จิน กาแล็กติก” เริ่มให้บริการทัวร์อวกาศแล้ววันนี้
หน่วยยามฝั่งสหรัฐพบสิ่งที่คาดว่าเป็น “ชิ้นส่วนศพผู้โดยสารเรือดำน้ำไททัน”
นักดาราศาสตร์ตรวจพบ “โมเลกุลคาร์บอนที่สำคัญ” ในอวกาศได้เป็นครั้งแรก
นักดาราศาสตร์พบว่า ก่อนหน้านี้ ดาวฤกษ์เพ็กตูได้เกิดการเปลี่ยนผ่าน ขยายจัวกลายเป็นดาวยักษ์แดง (Red Giant) ซึ่งโดยทั่วไป ในรการขยายตัว จะกลืนดาวเคราะห์บางดวงที่โคจรอยู่ใกล้ ๆ ตัวมันเข้าไปด้วย แต่ที่น่าแปลกคือ ฮัลลากลับรอดมาจากการถูกดูดกลืนได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ดร.แดน ฮูเบอร์ จากสภาวิจัยแห่งออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยซิดนีย์และสถาบันดาราศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาวาย หนึ่งในทีมผู้ค้นพบ กล่าวว่า “ปกติแล้วการกลืนกินของดาวฤกษ์จะส่งผลร้ายแรงต่อดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ใกล้เคียง การที่ฮัลลาสามารถอยู่รอดได้ในบริเวณใกล้เคียงกับดาวยักษ์ของมัน จึงเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่ง”
เขาเสริมว่า “เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แกนกลางหมดลง ดาวฤกษ์จะพองตัวขึ้นเป็น 1.5 เท่าของระยะทางโคจรของดาวเคราะห์ฮัลลาในปัจจุบัน ซึ่งจะกลืนกินมันทั้งหมดในกระบวนการนี้ ก่อนที่สุดท้ายดาวฤกษ์จะลดขนาดลงเป็นขนาดปัจจุบัน”
คาดว่าดวงอาทิตย์ของเราจะสิ้นสุดอายุขัยในอีก 5 พันล้านปีข้างหน้า ซึ่งจะขยายเป็น 100 เท่าของขนาดปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะกลืนกินและทำลายล้างโลกและดาวเคราะห์อื่น ๆ ในระบบสุริยะ
แม้ว่าระบบสุริยะของเราจะมีดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว แต่ดาวฤกษ์หลายดวงในเอกภพก็มีอยู่นับอนันต์ นักดาราศาสตร์ยังคงสำรวจว่า ดาวเคราะห์ก่อตัวอย่างไรรอบระบบดาวคู่เหล่านี้ และชะตากรรมของดาวเคราะห์เหล่านั้นเป็นเช่นไร เพื่อประเมินอนาคตอันไกลของโลก
ขณะนี้ นักดาราศาสตร์กำลังพยายามพิจารณาว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่ดาวเคราะห์ดวงนี้จะสามารถต้านทานเหตุการณ์ถูกดาวฤกษ์กลืนกินได้ แต่ฮุเบอร์กล่าวว่า “เราไม่คิดว่าฮัลลาจะรอดจากการถูกดูดกลืนโดยดาวยักษ์แดงที่กำลังขยายตัว”คำพูดจาก เล่นเกมสล็อตออนไลน์
ในขณะเดียวกัน มีความเป็นไปได้ว่า ดาวฮัลลาไม่เคยเผชิญกับอันตรายใด ๆ เลยตั้งแต่แรก
ทิม เบดดิง นักดาราศาสตร์และศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์ หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “ระบบนี้น่าจะคล้ายกับดาวเคราะห์ ทาทีน (Tatooine) ในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ซึ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์สองดวง”
เขาบอกว่า “หากเดิมทีระบบดาวฤกษ์เพ็กตูประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวง การควบรวมของพวกมันอาจป้องกันไม่ให้ดาวดวงใดดวงหนึ่งขยายตัวมากพอที่จะกลืนดาวเคราะห์ไปได้ และในสถานการณ์เช่นนี้ ดาวฤกษ์จะกลืนกินกันเอง”
ความเป็นไปได้อีกอย่างคือ ฮัลลาเป็นดาวเคราะห์ที่เพิ่งเกิดใหม่จากเมฆก๊าซ ซึ่งเกิดจากการชนกันอย่างรุนแรงระหว่างดาวฤกษ์สองดวง ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์รุ่นที่สองที่เกิดขึ้นในระบบ
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก AFP
แบบทดสอบเช็กความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ฟรี! รู้ก่อนรักษาก่อนมีโอกาสหายได้!